วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-27/06/52

สรุป


Array and Record

อะเรย์ (Array)

ตัวแปรอาเรย์สามารถเก็บข้อมูลหลายๆข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายตัว เช่นถ้าต้องการเก็บอายุของเพื่อนทั้ง 20 คน ถ้าเราใช้ตัวแปรแบบ int เราจะต้องประกาศตัวแปร age1, age2, age3,.....,age20 ให้เป็นแบบ int ซึ่งเป็นการประกาศตัวแปรถึง 20 ตัวด้วยกัน แต่ถ้าใช้อาเรย์เราประกาศตัวแปร age ให้เป็นอาเรย์แบบ int เพียงตัวเดียวก็สามารถเก็บค่าทั้ง 20 ค่าได้แล้ว

อาร์เรย์ เป็นแบบหนึ่งของโครงสร้างที่เรียกว่า Linear List ซึ่งมีจำนวนรายการ ( Element) จำกัด และข้อมูลที่เก็บอยู่ในอาร์เรย์แต่ละช่องจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน อยู่ภายใต้ตัวแปรชื่อเดียวกัน โดยขนาดของแต่ละช่องต้องเท่ากันหมด การอ้างถึงข้อมูลในแต่ละช่องของของอาร์เรย์ ต้องอาศัยตัวห้อย Subscript เช่น กำหนดให้ Array A มีขนาด 100 รายการ A[5] จะหมายถึง ค่าของอาร์เรย์ตำแหน่งที่ 5 ในอาร์เรย์นั้น ซึ่ง Subscript ก็คือ เลข 5 จำนวน Subscript ที่ต้องการใช้เวลาเรียกใช้ค่าใน Array เรียกว่า มิติ ไดเมนชั่น ( Dimention) ของ Array นั้น

ความหมายของอาร์เรย์

โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์ (Array) หรือตัวแปรชุด มี 2 ความหมาย คือ

1. ความหมายโดยทั่วไปอาร์เรย์ หมายถึงโครงสร้างที่นำข้อมูลชนิดเดียว กันมาจัดเรียงกันเป็น n มิติเป็นโครงสร้าง ตารางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

2. ความหมายทางคอมพิวเตอร์อาร์เรย์ หมายถึง กลุ่มของช่วงความจำ ในหน่วยความที่ใช้เก็บข้อมูลชนิดเดียวกันและ ทุกช่องต้องมีขนาดเท่ากัน ภายใต้ตัวแปรเดียวกัน การสร้าง Array ขึ้นมาใช้งานนั้น ต้องคำนึงถึง 1. ชื่อของ Array 2. ขนาดของ Array แต่ละช่อง และมิติของ Array 3. ค่าสูงสุด ( Upper Bound) และค่าต่ำสุด (Lower Bound) ในแต่ละมิติ

ARRAY 1 มิติ

คือ Array ที่มีลักษณะเป็นตารางแถวเดียว Array 1 มิติ จะมีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้
ถ้า Lower Bound = 1 สามารถเขียน Array เป็น A [u] ก็ได้ เช่น Ex1 ถ้าต้องการสร้าง Array N เพื่อเก็บตัวเลขประเภท Integer ให้มีขนาด 5 ช่อง N [1 : 5 ] สามารถเขียนเป็น N [5]
เนื่องจาก Integer 1 ตัวจะใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำ 2 Bytes ดังนั้น Array N จะใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำ ทั้งหมด 10 Bytes
หมายเหตุ ในภาษาซี ช่องแรกของอาร์เรย์จะเริ่มจาก 0

อาร์เรย์ 2 มิติ

อ าร์เรย์ 2 มิติ คือ อาร์เรย์ที่มีลักษณะที่เป็นตารางที่มี 2 ด้าน คือ ทางด้านแนวนอน ( ROW) และแนวตั้ง ( COLUMN) มีจำนวนช่องเท่ากับ จำนวนช่องทางด้านแนวนอน ( ROW) คูณกับจำนวนช่องทางด้านแนวตั้ง ( COLUMN) การอ้างถึง Array 2 มิติ ต้องใช้ Subscript 2 ตัว คือ ROW และ COLUMN การกำหนดอาร์เรย์ 2 มิติทำได้โดย
ชื่อของอาร์เรย์ [ l1 : u1 , l2 : u2 ]
l1 คือ lower bound ของมิติที่ 1 u1 คือ upper bound ของมิติของที่ 1 l2 คือ lower bound ของมิติที่ 1 u2 คือ upper bound ของมิติของที่ 1
เช่น ARO [ 5 : 20 , 30 : 50 ] คือ การกำหนดให้ อาร์เรย์ 2 มิติ ชื่อ ARO มีจำนวน 16 ช่องทางด้านแนวนอน ( ROW) เริ่มที่ 5 ถึง 20 และ 21 ช่องทางด้านแนวตั้ง ( COLUMN) เริ่มที่ 30 ถึง 50 เช่นเดียวกับอาร์เรย์ 1 มิติ คือ ถ้า l1 หรือ l2 เป็น 1 ก็สามารถกำหนดโดยไม่ใส่ l1 หรือ l2 ก็ได้ เช่น STR [ 20 , 50 ] กำหนดให้ อาร์เรย์ 2 มิติ ชื่อ STR มีจำนวนช่อง 20 ช่องทางด้านแนวนอน ( ROW) โดยเริ่มที่ 1 ถึง 20 และ 50 ช่องทางด้านแนวตั้ง ( Column) เริ่มที่ 1 ถึง 50 หมายเหตุ ในภาษาซี การกำหนดอาร์เรย์ 2 มิติ ต้องประกาศดังนี้ ชื่อของอาร์เรย์ [ u1 ] [ u2 ] เช่น int num[5][10];
การคำนวณหาจำนวนช่องของ ARRAY 2 มิติ
จำนวนช่องทางด้านแนวนอน ( ROW) หาได้จาก
m = u1 - l1 + 1
จำนวนช่องทางด้านแนวตั้ง ( COLUMN) หาได้จาก
n = u2 - l2 + 1
ดังนั้น จำนวนช่องทั้งหมดของ A [ l1 : u1, l2 : u2 ] = m x n

Structure
ประเภทของตัวแปร
• ตัวแปรเดี่ยว คือตัวแปรที่ขณะใดขณะหนึ่ง จะเก็บ
ข้อมูลได้ค่าเดียว เช่น
– char ch1;
– int x;
• ตัวแปรชุด คือตัวแปรที่เก็บข้อมูลประเภทเดียวกัน ได้
หลายค่า เช่น
– int num[ ] = {5, 7, 1, 18, 20};
– float f[10];
• ตัวแปรชนิด Structure คือตัวแปรที่สามารถเก็บ
ข้อมูลหลายประเภท ภายใต้ชื่อเดียวกัน

การประกาศตัวแปรแบบ Structure
แบบที่ 1
struct student
{
char name[30] ;
float score ;
float score ;
} ;
struct student st1,st2 ;
การประกาศทั้งสองแบบ จะได้ตัวแปร st1 และ st2
เป็นตัวแปรโครงสร้างชนิด student
แบบที่ 2
struct student
{
char name[30] ;
float score ;
float score ;
} st1,st2;

ความหมายของ Structure
• Structure หรือโครงสร้าง คือ กลุ่มของ
ข้อมูลที่มีชนิดเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
ซึ่งนำมารวมกลุ่มแล้วเรียกเป็นชื่อเดียวกัน
• Structure มีประโยชน์มากในการสร้างและ
จัดการโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อน

การประกาศชนิดข้อมูลแบบ Structure
รูปแบบ
struct struct_name
{
type1 variable1;
type2 variable2;
...
typeN variableN;
} ;
จากตัวอย่าง เป็นการสร้างโครงสร้างข้อมูลชนิดใหม่ ชื่อว่า
student ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ตัว คือ name (string) ,
score (float) และ grade (float)
ตัวอย่าง
struct student
{
char name[30];
float score;
float grade;
} ;

การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรแบบ Structure
• หลักการคล้ายกับการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ
อาร์เรย์
• จะทำการกำหนดค่าเริ่มต้นไว้ในเครื่องหมาย { }
และแยกแต่ละค่าออกจากกันด้วยเครื่องหมาย ,

struct student
{
char name[30] ;
float score ;
float grade ;
} ;
struct student st1 = { “somchai”, 78.5, 3.5 } ;
name somchai
score 78.5
grade 3.5
st1
การบ้าน

struct employee
{
char name[30];
char surname[30];
int age;char sex[5];
char no[5];
char birthday[20];
char address[20];
char tellephon_number[20];
}employee1;

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ


ประวัติ

ชื่อ
นางสาว นิภาพร ใจโปร่ง


Name Nipaporn Jaiprong

ชื่อเล่น อ้อม

รหัส 50152792095

คณะวิทยาการจัดการ

แขนง บริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

เกิด วันเสาร์ ที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ. 2531

ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน

30/1 ม.7 ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 80340

ที่อยุ่ปัจจุบัน

422/476 บ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎ

ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

10400

งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง



คลิปแนะนำตัวเอง